ชมวิหารสีน้ำเงิน ณ วัดร่องเสือเต้น
เชียงราย เมืองเหนือที่มีมนต์เสน่ห์ทั้งประเพณีเก่าแก่ที่สืบต่อมายาวนาน วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม เมืองที่มีวัฒนาธรรมที่สืบทอดมายาวนาน และยังมีวัดที่มีศิลปะวิจิตรประณีตหลากวัด อย่างเช่น วัดเสือร่องเสือเต้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ประวัติความเป็นมา
เดิมวัดร่องเสือเต้น เคยเป็นหนึ่งในวัดร้างที่มีจำนวนมากในเมืองเชียงราย แต่เพราะวัดที่อยู่ใกล้หมู่บ้านนั้นไม่มีทำให้ชาวบ้านร่วมกันให้ความเห็นว่าควรได้รับการบูรณะ เพื่อไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านร่องเสือเต้น ลักษณะเด่นของวัดร่องเสือเต้นนี้ คือ วิหารวัดร่องเสือเต้น ที่ สร้างและออกแบบโดย สล่านก ศิลปินพื้นบ้านชาวเชียงรายลูกศิษย์ก้นกุฏิของ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
วัดร่องเสือเต้น ได้สร้างขึ้น เมื่อ 27 ตุลาคม 2548 สร้างเสร็จเมื่อ 22 มกราคม 2559 ระยะเวลาก่อสร้างนานถึง 11 ปี
ไฮไลท์ของวัดร่องเสือเต้น
- วิหารของวัดแห่งนี้ ใช้โทนสีที่แตกต่างไปจากทุกที่ นั่นคือโทนสีน้ำเงินฟ้าตัดกับสีทอง ซึ่งได้มีคำนิยามถึงสีที่ทาไว้ว่าสีน้ำเงินฟ้าแทนความหมายของการขจรขจายทั่วไปเหมือนดังท้องฟ้า เป็นแนวพุทธศิลป์ที่คิดต่างและร่วมสมัย
- อีกจุดที่จะลือไม่ได้เลย คือ รูปปั้นพญานาคหน้าวิหาร เป็นผลงานฝีมือของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินผู้มีชื่อเสียงอีกท่าน เป็นรูปปั้นพญานาค ที่มีทำให้สัมผัสได้ถึงความดุดัน น่าเกรงขม แต่ก็มีความอ่อนช้อยวิจิตปราณีต ตามรูปแบบศิลปะล้านนา
- ความสวยงามของพระประธานในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน “พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์” ที่มีขนาดความสูง 20 เมตร ภายในส่วนยอดขององค์พระธาตุได้บรรจุพระบรมสาริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงฆปริณายก
การเดินทางไปวัดร่องเสือเต้น
วัดร่องเสือเต้น อยู่ในเขตอำเภอเมือง วัดจะอยู่ริมแม่น้ำกก ห่างจากสะพานแม่น้ำกก ราว 300 เมตร การเดินทางเริ่มต้นที่ห้าแยกพ่อขุนฯ แล้วไปตามถนนเส้นหลัก เชียงราย – แม่สาย แล้วจากนั้นข้ามสะพานแม่น้ำกกจะเห็นแยกไฟแดงแรก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 250 เมตร และเลี้ยวซ้ายอีกประมาณ 50 เมตร จะเห็นวัดร่องเสือเต้นทางด้านขวามือค่ะ
นี่เป็นอีกสถานที่อีกแห่งที่อยากแนะนำให้ไปแวะเที่ยวชมเมื่อคุณเดินทางไป จังหวัดเชียงราย ไปชมศิลป์ที่สวยงามและโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีศิลป์ที่มีความอ่อนช้อยมากที่สุดและแปลกตาที่สุด พร้อมทั้งเข้ามากราบไหว้สักการะพระประธานที่สวยในวิหาร และสักการะพระบรมสาริกธาตุ เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองด้วยนะคะ